เศรษฐกิจไทย ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ระลอกสาม อย่างไร?

ในเดือนเมษายน 2021 เศรษฐกิจไทยเริ่มจะได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ในระลอกที่ 3 ตามการรายงานที่ได้เผยแพร่ออกไปจากธนาคารแห่งประเทศไทย
 
มูลค่าการบริโภคของประชาชนทั่วไปได้ชี้ให้เห็นถึงการขยับลงของกราฟการใช้จ่ายในทุกหมวดเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า การลงทุนของภาคเอกชน บ่งบอกถึงอัตราที่ลดต่ำลงในหมวดเครื่องจักรและเครื่องมือ ในขณะเดียวกัน ในภาคธุรกิจการท่องเที่ยวก็ยังไม่มีการฟื้นตัวแต่อย่างใดเนื่องจากความเข้มงวดในการเดินทางข้ามประเทศ
 
อย่างไรก็ตาม สินค้าส่งออกกลับมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในสายงานที่มีการสั่งซื้อจากคู่ค้าซึ่งทำให้เกิดการสนับสนุนทางด้านการผลิตตามมาในอุตสาหกรรมด้านการผลิต การใช้จ่ายสาธารณะก็ยังคงมีบทบาทสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจต่อไป
 
แนวหน้าของความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ได้พาดหัวถึงอัตราเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นเร็วกว่าเดิม เมื่อทางรัฐบาลได้ยกเลิกการลดบิลค่าน้ำค่าไฟ กอปรกับราคาพลังงานที่อยู่ในระดับต่ำมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้านี้ ในส่วนของตลาดแรงงานยังคงไม่น่าไว้วางใจ เนื่องจากมีการออกมาประกาศถึงการขาดแรงงานในอัตราที่สูงขึ้นกว่าเดือนที่แล้วเพียงเล็กน้อย
 
รายละเอียดเกี่ยวกับสภาพเศรษฐกิจ มีดังนี้
ดัชนีบ่งชี้การใช้จ่ายของประชาชน หลังจากการปรับเปลี่ยนตามฤดูกาล (seasonal adjustment) ซึ่งมีอัตราการใช้จ่ายที่ลดลงจากเดือนก่อนหน้านี้ในทุกหมวดสินค้าเนื่องมาจากการระบาดระลอก 3 ของโควิด-19 ที่มีมาพร้อมกับมาตรการที่มีความเข้มงวด
 
ผลที่ได้ก็คือ การเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจ และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงถึงแม้ว่ามาตรการของรัฐบาลจะมีส่วนช่วยสนับสนุนเรื่องการใช้จ่ายในครัวเรือนบางส่วนแล้วก็ตาม
 
ดัชนีชี้วัดการลงทุนของภาคเอกชน หลังจากการปรับเปลี่ยนตามฤดูกาล (seasonal adjustment) การลงทุนในหมวดของเครื่องจักร และ อุปกรณ์มีอัตราที่ต่ำลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า สิ่งดังกล่าวเป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดระลอกที่ 3 ของโควิด-19 แต่อย่างไรก็ตามการลงทุนในธุรกิจก่อสร้างนั้นมีการขยับตัวขึ้นเนื่องมาจากยอดขายของวัสดุก่อสร้างได้เพิ่มขึ้นตามพื้นที่โครงการก่อสร้างต่าง ๆ ที่เพิ่มขึ้น
 
มูลค่าของสินค้าส่งออก หลังจากการปรับเปลี่ยนตามฤดูกาล (seasonal adjustment) มีการขยับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้านี้ในหลาย ๆ หมวดธุรกิจ ซึ่งเป็นผลมาจากยอดสั่งซื้อของคู่ค้าที่ยังคงเหนียวแน่น
 
เหล่านี้รวมไปถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร และ เครื่องมือ สินค้าทางการเกษตร และ ผลิตภัณฑ์สำหรับอุตสาหกรรมเกษตรด้วยเช่นเดียวกัน มากไปกว่านั้น การส่งออกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเนื่องมาจากขาขึ้นของกระแสวัฏจักรอิเล็กทรอนิกส์โลก การฟื้นตัวของการส่งออกนี้มีส่วนสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตให้ยังคงเดินหน้าท่ามกลางความต้องการที่แผ่วลงภายในประเทศ
 
มูลค่าของสินค้านำเข้ารวมไปถึงทองคำ หลังจากการปรับเปลี่ยนตามฤดูกาล (seasonal adjustment) อัตราการนำเข้าพลังงานขยับตัวสูงขึ้น ในขณะเดียวกัน การนำเข้า raw materials และสินค้าขั้นกลางก็ยังคงรักษาระดับที่สูงได้อยู่ อันเป็นผลเนื่องมาจากการฟื้นตัวของภาคการส่งออก
 
การใช้จ่ายในภาคสาธารณะ ซึ่งรวมไปถึงการขนส่ง มีการหดตัวเล็กน้อยจากช่วงระยะเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว โดยเทียบจาก capital expenditure. ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากฐานตัวเลขที่สูงของปีที่แล้วเพราะการจัดสรรตามมาตรการของ ปีงบประมาณ FY2020 อย่างไรก็ตาม ภาพรวมของการใช้จ่ายสาธารณะนั้นยังสูงกว่าค่าเฉลี่ยของเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ซึ่งสะท้อนถึงการเข้ามาช่วยอุ้มทางด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล
 
ตัวเลขของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศ ยังคงอยู่ในอัตราที่ต่ำเนื่องมาจากมาตรการ การเดินทางข้ามประเทศที่เข้มงวดยังคงมีอยู่ ในเรื่องความเสถียรแนวหน้า ได้เร่งให้เกิดอัตราเงินเฟ้อหลังจากที่รัฐบาลได้เข้ามาช่วยเรื่องค่าครองชีพจากการยกเลิกบิลค่าน้ำและลดอัตราค่าไฟในช่วงเวลาเดียวกันนี้ของปีที่แล้ว
 
การส่งออกไทยเพิ่มขึ้น 13% ในเดือนเมษายน
ที่ปรึกษาสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง นาย วุฒิพงศ์ จิตตั้งสกุล ได้ให้สัมภาษณ์ในวันนี้ว่า การส่งออกของไทยขยับตัวขึ้นมากกว่า 21,000 ล้านสหรัฐในเดือนเมษายน ซึ่งโตขึ้น 13.1 เปอร์เซนต์ในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งถือเป็นอัตราที่สูงที่สุดในรอบ 36 เดือนที่ผ่านมา
 
สำหรับสินค้าที่มีผลงานดีที่สุดนั้น คิดรวมไปถึง ยานยนต์และสินค้าประดับยนต์ สินค้าทางการเกษตร และ สินค้าทั่วไป และ อาหาร ซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตแบบ work from home สำหรับประเทศคู่ค้าอันดับต้น ๆ ของไทย ก็จะมี สหรัฐอเมริกา จีน สหภาพยุโรป และ ประเทศในเอเชียใต้
 
การใช้จ่ายของประชากรก็ได้ขยับตัวขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว การจดทะเบียนรถยนใหม่พุ่งไปถึง 65.8% ซึ่งในสายอุตสาหกรรมนี้ 9.8% มาจากการขยายตัวทางการเกษตร ยอดขายรถยนต์ส่วนบุคคลโตขึ้นอย่างมหาศาลที่ 92.4% ถึงแม้ว่าจะเป็นอัตราที่ตกลงเล็กน้อยจากเดือนมีนาคม เนื่องมาจากความมั่นใจของผู้บริโภค ตกลงจาก 48.5 คะแนน เหลือ 46 คะแนน อันเนื่องมาจากผลกระทบของข่าวการแพร่ระบาดของ โควิด 19 อย่างไรก็ตาม ปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นอย่างโครงการเราชนะ และ ม.33 ก็ได้มาส่วนในการเติมพลังให้กับเศรษฐกิจ
 
สัดส่วนการลงทุนของเอกชน มีทิศทางที่ดีขึ้นในเดือนเมษายน อันเนื่องมาจากฐานของสินค้านำเข้าที่มีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะวัสดุก่อสร้างนั้นจำเป็นอยากมากสำหรับโครงการก่อสร้างของรัฐ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจได้ชี้ให้เห็นเรื่องอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น 3.4%  และหนี้สาธารณะ อยู่ที่ 54.3% ของ GDPในเดือนมีนาคม ภายใต้ข้อจำกัดของระเบียบการบังคับใช้ สำหรับการบริการต่างชาตินั้น ขึ้นไปสูงกว่า 8 แสนล้านบาทในปลายเมษายน
 
เอเชียแปซิฟิก : การฟื้นตัวอันล่าช้าแต่ไม่ผิดไปจากที่ราดการณ์ไว้
 
เศรษฐกิจ ASEAN-6 ล้วนแต่ประสบความผันผวนที่เกิดจากโควิด 19 ตั้งแต่เปิดปี 2021 มา ซึ่งทำให้ต้องกลับไปใช้มาตรการรักษาระยะห่างอีกครั้ง
 
ประเทศไทยมีสถิติผู้ป่วยกว่า 120,000 ราย นับตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา ซึ่งผิดกับจำนวนของทั้งปี 2020 ที่พบผู้ติดเชื้อน้อยกว่า 7,000 ราย ในขณะที่ประเทศที่มีความหลากหลายอย่างสิงคโปร์และเวียดนาม ค่าเฉลี่ยผู้ติดเชื้อรายใหม่อยู่ที่ 5 และ 1.1 ต่อประชากร 1 ล้านคนต่อวัน ในเเดือนพฤษภาคม ซึ่งถือว่ายังน้อยเมื่อเทียบกับสัดส่วนในภูมิภาคและทั่วโลก ในกรณีนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคนั้นเชื่องช้าลง แต่ไม่ได้อยู่ในขั้นที่แย่ เนื่องจากเรามีอัตราการเติบโตของ GDP ที่ลดลงจากการคาดการณ์ไว้ในปี 2021 จากเดิมที่คาดว่า จะโต 5.5% อัตราจริงอยู่ที่ 4.9% ซึ่งในปี 2022 ได้มีการคาดการณ์อัตราความเติบโตของจีดีพีอยู่ที่ 6.5% เนื่องจากในหลายๆประเทศเริ่มเข้าใกล้เรื่องภูมิต้านทานของประชากรมากขึ้น ซึ่งเชื่อมโยงไปสู่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภาคส่วนต่าง ๆ
 
หลังจากได้รับเสียงชื่นชมในการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด 19 ในปี 2020 เศรษฐกิจใน ASEAN-6 ก็ได้เจอกับปัญหาการพุ่งของจำนวนผู้ติดเชื้อตั้งแต่ต้นปี เราคาดการณ์ว่าจะเห็นการเติบโตอย่างต่อเนื่องของ GDP ที่มีความอ่อนตัวลงในช่วงไตรมาสที่ 2 จากไตรมาสที่ 1 ท่ามกลางความเข้มงวดทางเศรษฐกิจที่มากขึ้นในระดับภูมิภาค ซึ่งมีผลต่อภาคธุรกิจที่เปราะบาง อย่างการใช้จ่ายในครัวเรือน หรือ การใช้จ่ายทางสังคม  ซึ่งเป็นเรื่องดีที่การค้าในระดับโลกนั้นมีแนวโน้มไปในทิศทางที่ดีขึ้น ซึ่งนำไปสู่การช่วยพยุงเศรษฐกิจในภูมิภาค
 
สมมุติว่ามาตรการบางอย่างเริ่มผ่อนคลายได้ในเดือนมิถุนายน เราคาดหวังจะเห็นการเติบโตอย่างต่อเนื่องที่มากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง อย่างไรก็ตามการฉีดวัคซีนที่ดำเนินไปอย่างช้า ๆ ยกเว้นในสิงคโปร์ การฟื้นตัวที่จะเห็นก็คงเป็นไปอย่างลุ่ม ๆ ดอน ๆ และสุ่มเสี่ยงที่จะกลับมาเข้าสู่มาตรการที่เข้มงวดใหม่อีกครั้ง การผงาดขึ้นใหม่ยังคงมีความไม่แน่นอนและดูเหมือนจะนำไปสู่ความหวาดกลัวต่อสภาพเศรษฐกิจในอนาคต

Comments

More Events